วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหมายของ ซีพียู (CPU)


                                                   ซีพียู (CPU)
                


                           

      ซีพียู (CPU)  คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น



กลไกการทำงานของซีพียู

       การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น





ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation        

                                                                  

                                                                (CPU) ทำหน้าที่


                



        CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ กับ จะมีค่าเป็น เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
                 
                                      
               
                                    ชนิดของ CPU มี 2 ชนิดคือ  แบบซ็อเก็ต และ แบบสล็อต
              
แบบที่ 1  ช็อคเก็ต ( Socket )
CPU ประเภทนี้จะบรรจุในรูปแบบของสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยพลานสติกหรือเซรามิก  หากมองจากด้านบน CPU จะพบตัวอักษรที่เป็นรายละเอียดต่างๆไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ ความเร็ว ค่าแรงไฟ ค่าตัวคูณ และอีกหลายๆอย่าง

Image
แบบที่ 2  แบบสล็อต
CPU มีการพัฒนาออกมาแบบแหวกแนว มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรลี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพลาสติกสีดำ ห่อหุ้มไว้เป็นตลับ


ความแตกต่างของ ซ็อคเก็ตและสล็อต
แบบซ็อคเก็ตคือ ซ็อคเก็ตจะอยู่ในตลับและถูกครอบด้วยพัดลมเพื่อระบายความร้อน
แบบสล็อตคือ จะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆประกบกันและจะเสียบ CPU ลงไปอีกทีหนึ่ง
ชนิดของซีพียูที่แบ่งตามจำนวนของแกนการประมวลผล

แกนเดี่ยว    ลักษณะเป็นซีพียูที่มีแกนประมวลผลเพียงแกนเดียวอยู่ในชิป


หลายแกน   ลักษณะเปรียบเสมือนมีซีพียู 2 ตัว เพื่อช่วยกันทำงาน
ซีพียูแบบแกนคู่   ลักษณะเป็นซีพียูที่มีแกนประมวลผล 2 แกนอยู่ในชิปตัวเดียวกัน



ซีพียูแบบสามแกน  ลักษณะเป็นซีพียูที่มีแกนประมวลผล 3 แกนอยู่ในชิปอันเดียวกัน



ซีพียูแบบสี่แกน  ลักษณะเป็นซีพียูที่มีแกนประมวลผล 4 แกน โดยแต่ละเเกนจะแยกการทำงานกันอย่างอิสระเพิ่มขี้นถึง 4 เท่า


หลักการทำงานของ CPU


มีหน่วยสำคัญอยู่  2  หลักการคือ
  1. หน่วยควบคุม
        คือ  เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ
        คือ  เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บวก  ลบ  คูณ  หาร
หลักการทำงานของ CPUโดยวงรอบของการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอนดังนี้
        1. ขั้นตอนการรับเข้าข้อมูล  ( fatch )เริ่มแรกหน่วยควบคุมรับรหัสคำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ
        2. ขั้นตอนการถอดรหัส ( decode )
เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะถอดรหัสคำสั่งแล้วส่งคำสั่งและข้อมูลไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ
        3. ขั้นตอนการทำงาน ( execute )
หน่วยคำนวณและตรรกะทำการคำนวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับการถอดรหัสคำสั่ง และทราบแล้วว่าต้องการทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น
        4. ขั้นตอนการเก็บ ( store )
หลังจากทำคำสั่ง ก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำ

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการประกอบคอมพิวเตอร์


ขั้นแรกก็ให้เราเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้เรียบร้อยนะครับ คือ Mainboard,CPU,RAM,DVD-rw,case,สายสัญญาณต่าง ๆ  เอามาวางเป็นชุด ๆ ให้หยิบง่ายๆ
-นำเมนบอร์ดออกจากกล่องให้เรียบร้อยใช้แผ่นโฟมหรือซองกันไฟฟ้าสถิตย์ รองบอร์ดกับพื้นโต๊ะ (โต๊ะที่ใช้ประกอบคอมควรเป็นโต๊ะไม้ เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์อันอาจจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้)
2.เรามาเริ่มติดตั้ง CPU กันก่อนตัวที่นำมาสาธิตเป็น LGM 775 ครับหน้าตาก็อย่างที่เห็น เพื่อน ๆ จะเห็นกระเดื่องที่ใช้ Lock ฝาครอบ CPU อยู่ก็ง้างมันออกมา โดยการกดคานกระเดื่องลงเล็กน้อยแล้วเลื่อนมันออกมาให้พ้นตัว Lock แล้วยกขึ้น
3.เราก็จะเปิดฝาครอบ CPU ได้ครับอย่าลืมเอาแผ่นพลาสติกที่ครอบอยู่ด้านบนออกด้วยหล่ะ
4.จากนั้นนำ CPU ออกจากกล่อง คุณจะรู้ได้ทันทีว่าต้องวาง CPU ไปในทิศทางไหน (ดูตรงรอยบากตรง CPU กับ Socket หรือสังเกตุตรงที่ผมล้อมกรอบสีเหลืองไว้แหละครับ ถ้าคุณวางผิดด้านมันจะไม่ลง ล็อกกันอยู่แล้ว
5.ดูกันให้จะ ๆ ว่าวางแบบไหนนะจ๊ะ
6.เสร็จแล้วก็ปิดฝาครอบล็อกกระเดื่องให้เรียบร้อย
7.จากนั้นก็นำพัดลมมาวางตรงด้านบน(สังเกตุใต้พัดลมจะมี ซิลิโคนระบายความร้อนอยู่ขนาดจะเท่ากับ ส่วนของCPU ที่เว้นไว้จากฝาครอบพอดีวางให้ตรงแล้วกดขาของพัดลมให้ลงไปในรูบนเมนบอร์ดแล้วหมุนขาพัดลมทุกข้างไปทางขวาจนมีเสียง “กริ๊ก” เบา ๆ
8.เมื่อหมุนแล้วยกด้านหลังมาดูก็จะเป็นดังภาพนี้ รับรองได้ว่าพัดลมไม่หลุดออกจากบอร์ดแน่นอนครับ
9.หลังจากนั้นก็เก็บสายไฟพัดลมให้เรียบร้อยและเสียบสายไฟเข้ากับช่อง  CPU FAN ซึ่งอยู่แถว ๆ Socket CPU นั่นเอง
10.เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง CPU บอกแล้วว่ามันง่าย มากๆๆ
11.หลังจากนั้นก็ติดตั้ง RAM ครับ ง่ายเหมือนกัน คือง้างตัวล็อกแรมทั้ง 2 ข้างออก มองรอยบากของแรมกับ Slot ให้ตรงกันค่อย ๆ วางแรมลงไปแล้วกดทีละข้าง ขาล็อกแรมก็จะขึ้นมาล็อกแรมเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณใส่ผิดข้าง คุณจะกดลงได้เพียงข้างเดียว อย่าไปฝืนกดมันเป็นอันขาด ถ้าไม่แน่ใจให้ลองกลับข้างแล้วกด ดูใช้แรงกดไม่มากถ้าใส่ถูกมันจะเข้าไปเองครับ
12.เสร็จสิ้นขบวนการใส่ RAM
13.มาดูสาย Power กันบ้างที่ต้องใช้ก็มี 3 แบบหลัก ๆ
1. สาย Power 24 Pin สำหรับต่อเข้า Mainboard
2.สาย Power สำหรับ cPU
3.สาย Power สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ
ส่วนสี ๆ ดำ ๆ นั่นสำหรับ VGA แบบ PCI-E มีเฉพาะบางรุ่นที่ต้องการ ไฟเลี้ยงเพิ่ม
14.สาย Power 24 Pin สามารถถอดแยกได้ ในกรณีที่ Mainboard ใช้ Power แบบ 20 Pin ก็ให้สังเกตุดูจากบนเมนบอร์ดนะครับ ส่วนสาย Power สำหรับ CPu ก็อย่าลืมเสียบเป็นอันขาดไม่อย่างนั้นเปิดเครื่องไม่ติดแน่ ๆ
15.ดูกันอีกที่ ซ้ายไปขวา
-PCI-E สำหรับ VGA CARD ที่ต้องการพลังงานจาก Power supply เพิ่ม (ส่วนใหญ่เป็น VGA พลังสูงสำหรับการเล่นเกมส์)
-สายไฟลสำหรับ Floppy disk
-สายสำหรับอุปกรณ์แบบ SATA
-สายสำหรับอุปกรณ์แบบ IDE หรือ มาตฐาน
16.เสียบไฟเลี้ยง CPU
17.เสียบไฟเลี้ยง Mainboard  ตอนนี้อุปกรณ์ของเราก็พร้อม ทดสอบแล้วครับ  ให้เสียบปลั๊ก Powersupply ได้เลย
18. จากนั้นใช้ไขควงปากแบน แตะที่ขาที่เขียนว่า PW หรือ Power บนเมนบอร์ด เพื่อเปิดการทำงาน อย่าลืมเสียบลำโพงที่ช่อง SPK ด้วยเพื่อจะได้รู้ว่ามี Error อะไรหรือเปล่า อ่อ อย่าลืมเสียง สายสัญญาณ VGA เข้ากับจอด้วยนะครับ
19. รอสักพัก……(ลุ้นๆๆๆ)… “ติ๊ด” เสียงสวรรค์มาแล้วเมื่อได้ยินเสียงพร้อมกับเห็นภาพขั้นตอนการ POST (Power On Self Test)  นั่นแสดงว่าเราประกอบ CPU และ RAM ได้ถูกต้องแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เตรียมประกอบลงเคสได้เลย
20.เคสที่เราเพิ่งซื้อมาถ้าจะให้ดีแนะนำให้เปลี่ยน Power supply ที่ติดมากับเคนให้เป็นรุ่นเกรด A หรือกำลัง WATT สูง ๆ (ราคาประมาณ 800-1,000) บาท เพราะจะใช้ทนนานกว่าและไม่ทำให้อุปกรณ์ของเราเสียเร็ว
21.เปิดฝาทั้ง 2 ข้างของ เคสออกก็จะเห็นสาย ไฟนัวเนียไปหมด แต่ละเส้นก็จะมีเขียนกำกับไว้ว่าต่อกับขาใด บนบอร์ด ไม่ยากครับถ้าไม่รู้ก็เปิดคู่มือบอร์ดเอาก็ได้
หลัก ๆ ก็มี
PW-สาย Power
RES-RESET
HDDLED-สายแสดงการทำงานของ HDD
PWLED สายแสดงว่ามีไฟเข้าเครื่อง
SPK-ลำโพง
หรือบางบอร์ดจะเขียนต่างกว่านี้นิดหน่อย ก็ให้ลองอ้างอิงจากคู่มือเอานะครับ
22..ให้นำเมนบอร์ดวางทาบลงไปบนเคสส่วนใหญ่จะตรงกับจุดที่นูน ๆ ขึ้นมารองรับพอดี (แบบ micro ATX) ก็ให้หาแหวนรองน็อตสีแดง ๆ มาเตรียมไว้เพื่อป้องกันน็อตสัมผัสกับวงจรบนเคสครับ
23.จุดรองรับบนเคสครับ
24. อย่าลืมดู Panel ด้านหลังด้วยถ้าไม่ตรงกับ เมนบอร์ด ก็งัดออกแล้วเอาแผ่นที่แถมมากับบอร์ดใส่แทนนะครับ
25.เตรียมติดตั้งได้ (อย่าลืมเอาโฟมรองบอร์ดทุกครั้งเวลานำไปวางไว้ที่ไหน)
26.นำ เมนบอร์ดวางลงไปให้ตรงพอดีกับพาแนล แล้วขันน็อตทุกตัวที่อยู่ตรงกับ ปุ่มรองให้แน่นครับ
27.มาติดตั้ง DVD-ROM กัน  ถ้าเคสสีดำแต่ใช้ DVD สีขาว มันก็ แหม่ง ๆ อยู่ มาเปลี่ยนหน้ากาก DVD-ROM กันครับ
28.ใช้ไขควงปากแบนกดตรงจุดล็อก ทั้ง 3 จุด
29. ซ้ายและขวาแล้วก็จะถอดหน้ากากออกมาอย่างง่ายดาย
30.ใส่สีใหม่เข้าไปแทนที่
31.จากนั้นก็ขันน็อตยึดให้แน่นทั้ง 2 ข้าง (ข้างละ 2 ตัวก็พอครับ)
32.เวลาเลือกใช้ตัวน็อต ดูด้วยนะครับ สำหรับ HDD กับ DVD-ROM ความยาว-สั้นมันไม่เท่ากัน อย่าใช้ตัวใหญ๋สำหรับยึด Mainboard มายึดนะครับ
33.เสียบสายสัญญาณ สายไฟ HDD,DVD-ROM  ให้เรียบร้อยอีกครั้ง
34.เสียบสาย USB ด้านหน้าเคสด้วยนะครับ (ดูวิธีเสียบได้จากในคู่มือ ไม่ยากครับเป็นล็อกเสียบได้ทางเดียว)
เมื่อตรวจสอบทุกอย่างจนแน่ใจแล้วก็เสียบสายอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยครับ Keyboard,mouse,power,VGA,ลำโพง แล้วก็เปิดเทส เพื่อติดตั้งและลงโปรแกรมได้เลย